วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

รูปแบบของการนำเสนอผลงาน

รูปแบบของการนำเสนอผลงาน
ลักษณะและขอบข่ายของผลงานที่นำเสนอ จัดแบ่งผลงานวิจัยเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 1. วิจัยองค์ความรู้ สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. วิจัยองค์ความรู้ สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3. วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รูปแบบการนำเสนอผลงาน การนำเสนอผลงาน ดังนี้ การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ใช้เวลานำเสนอเรื่องละ 15 นาที ซักถาม 5 นาที รวม 20 นาที ผลงานวิจัยเรื่องเต็มจะรวบรวมเป็นรายงานการประชุมวิชาการ(Proceedings) ในรูปของ CD-ROM
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
เครื่อง iPad จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะใช้อย่างไร สำหรับครั้งนี้จะมาแนะนำเทคนิคการทำเครื่อง iPad ให้สามารถนำภาพหรือข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใน iPad ฉายออกจอ TV จอคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องฉาย Projector ได้ทั้งหมด สามารถทำได้กับ iPad1 iOS version 3.2.2 จนถึง 4.3.3 (ปกติแล้ว iPad จะไม่สามารถนำเสนอภาพออกจอคอมพิวเตอร์ จอ TV และเครื่องฉาย projector ได้ อาจทำได้แค่เพียงบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เช่น นำเสนอผ่าน App. Browser บางตัว หรือออกได้เฉพาะ movie, ข้อมูลจาก keynote) สิ่งที่ต้องเตรียมการสำหรับ Hardware และ Software ดังนี้ 1.iPad จะต้องทำ Jailbreak เท่านั้น 2.ติดตั้งโปรแกรมชื่อ DisplayOut (ต้องซื้อราคา $2.99) 3.สาย HDMI adapter (สำหรับเชื่อมต่อออกจอ TV) 4.สาย VGA (สำหรับเชื่อมต่อออกเครื่องฉาย Projector) ขั้นตอนการดำเนินการ เข้าไปที่ Cydia •Tap ไปที่คำสั่ง Source •พิมพ์คำว่า “DisplayOut” (จะปรากฏ link DiskplayOut ขึ้นมา) กดที่ DisplayOut •กดที่ Purchase Package •จะเข้ามาที่หน้า Cydia Store Purchase •เลือกว่าจะ order ผ่านทาง Connect with Facebook หรือ Sign in with Google (แนะนำให้ใช้ Facebook) •พิมพ์ email และรหัสผ่านเพื่อ login เข้าไปที่ Facebook •จะแสดงหน้า Link Device โดยจะมีข้อมูลจาก Facebook ขึ้นมาแสดง เช่น ปรากฏรูปและชื่อของเราตามที่เคยลงทะเบียนกับ Facebook •กดไปที่ Link Device to your Account •ดำเนินการจ่ายเงินออนไลน์ผ่านทางผู้ให้บริการ เช่น Paypal หรืออื่นๆ (จำนวนเงิน $2.99) ปรากฏหน้า Detail ให้กด install เพื่อติดตั้งโปรแกรม<a class="quickedit" title="แก้ไข" onclick="'return"href="http://www.blogger.com/rearrange?blogID=2532978208321977439&amp;widgetType=Text&amp;widgetId=Text2&amp;action=editWidget&amp;sectionId=sidebar-right-1" target="configText2"></a>
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการนำเสนอผลงาน
ทุกหน่วยงานต่างก็อยากได้ อยากมีวิธีการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ ที่เรียกว่า Best Practices...หลายคนจึงพยายามมองหาBest Practices ของตนเอง ซึ่งบางคนก็สับสนกับตัวเองว่าวิธีการปฏิบัติที่ดี หรือเป็นเลิศของตนเองนั้น เป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศที่เรียกว่า Best Practices จริงหรือไม่ ทำให้ไม่กล้าที่จะนำเสนอ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกับใคร หรือไม่กล้าแม้กระทั่งจะบอกใครว่าผลงานของตน เป็นวิธีการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศได้หรือไม่ กรณีจำเป็นต้องค้นหา Best Practices ของตนเองให้ได้จริง ๆ ก็จะพบว่า บางคนเกิดคำถามว่าผลงานวิจัยเป็น Best Practices หรือไม่ บางคนนำเสนอ Best Practices ด้วยวิธีการเดียวกับการนำเสนอผลงานวิจัยทุกประการ ผู้ฟัง / ผู้อ่านหลายคนจึงสับสนมากกว่าเดิมอีกว่า ผลงานวิจัยเป็น Best Practices หรือไม่ Best Practicesคืออะไร ควรนำเสนออย่างไร ถ้าเราลองค้นคว้าเกี่ยวกับ Best Practices เช่น ความหมายของ Best Practices แนวทางการพิจารณา Best Practices ก็จะได้คำตอบว่า ผลงานวิจัย และ Best Practices นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะ Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ถ้าใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนา จะทำให้ Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เพียงแต่ว่าการนำเสนอผลงานวิจัยกับการนำเสนอ Best Practices นั้นมีความแตกต่างกัน ส่วนจะนำเสนอ Best Practices ให้ดีทำอย่างไร น่าจะต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาความหมายของBest Practices จนเข้าใจอย่างชัดเจนว่า (Best Practices ) หมายถึง การปฏิบัติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลที่เป็นเลิศของสถานศึกษา หรือของการจัดการเรียนรู้ หรือของการปฏิบัติงานเรื่องใด ซึ่งอาจเป็นกระบวนการ หรือเทคนิค วิธีการ ที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานทำให้งานประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่กำหนดและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผลงานที่เป็นแบบอย่าง ที่ผู้อื่นสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ ภายใต้ข้อจำกัดของวิธีการและหน่วยงานนั้น ๆ นอกจากนั้น ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนวการพิจารณาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices )ซึ่งสรุปได้ว่าBest Practices เน้นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ทุกคนในองค์กร เป็นวิธีปฏิบัติที่ครบวงจรของระบบคุณภาพ PDCA องค์กร บุคคลนั้น สามารถบอกได้ว่า ทำอะไร (What) ทำอย่างไร (How) และทำไมจึงทำ (Why) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามข้อกำหนด เป้าหมาย หรือตัวชี้วัดที่กำหนด วิธีปฏิบัตินั้น สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเป็นวิธีปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ต่อจากนั้น ลองย้อนไปนึกถึงการนำเสนอผลงานวิจัย เพื่อเปรียบเทียบกับการนำเสนอ Best Practices ซึ่งก็จะพบดังนี้ การนำเสนอผลงานวิจัย จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญๆ ซึ่งเริ่มด้วย
1) ชื่อผลงานวิจัย
2) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเรื่องนั้น
3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
4) เครื่องมือที่ใช้
5) แบบแผนการวิจัย
6) การวิเคราะห์ข้อมูล และ
7) ผลการวิจัย
       การรายงาน Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีประเด็นที่ควรพิจารณา 3-4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความรู้ที่เขียน ควรเป็นงานที่พัฒนาต่อยอดจากงานประจำที่ทำอยู่ ได้รับการยอมรับ หรือได้รับรางวัล หรือมีผู้อื่น หน่วยงานอื่นนำไปใช้
2) ระบุความสำเร็จหรือได้รับการยอมรับอย่างชัดเจน
3) ระบุข้อจำกัดในการนำไปใช้
4) ข้อความควรจะมีความยาวประมาณ 2 - 3 หน้ากระดาษ A4 สำหรับการนำเสนอ Best Practices หรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญๆ อย่างน้อย 7 ประเด็น ซึ่งเริ่มด้วย
   1) ชื่อผลงาน : ชื่อผลงานที่นำมาเสนอ
   2) ชื่อเจ้าของผลงาน : ชื่อเจ้าของผลงาน ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน e-Mail โทรศัพท์
   3) เกริ่นนำ : บอกถึงสภาพที่เป็นอยู่ของหน่วยงาน ความต้องการพัฒนา หรือแก้ปัญหา และเมื่อนำกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศมาใช้ทำให้เกิดผลสำเร็จอะไรบ้าง (การเขียนในส่วนนี้ควรเขียนให้เร้าความสนใจ)
   4) ผลสำเร็จ : ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน
   5) ผลการได้รับการยอมรับ : ถ้ามีรางวัลหรือหลักฐานที่แสดงการยอมรับให้ระบุชื่อรางวัล หน่วยงาน และระดับที่ได้รับ
   6) กิจกรรม วิธีการ ขั้นตอนที่สำคัญ : นำเสนอกิจกรรม วิธีดำเนินการ ขั้นตอน ที่แสดงถึงการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ
   7) ข้อจำกัดในการนำไปใช้
        : สถานการณ์ที่ทำให้กระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศไม่ประสบผลสำเร็จ หากเป็นการนำเสนอในเว็บไซต์ อาจเพิ่มประเด็นดังต่อไปนี้
1) คำสำคัญ (Keyword) : เรื่องที่นำเสนอเป็นสาระความรู้ใน 8 สาขา และเป็นเรื่องใดในสาระความรู้นั้น 2) วันที่นำส่งข้อมูล : วัน เดือน ปี ที่นำส่งข้อมูลทางเว็บไซต์
3) ผู้นำส่งความรู้ : ชื่อของผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่อง หรือผู้ที่เขียนองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานนี้
4) หน่วยงาน : สถานที่ทำงานของผู้นำส่งข้อมูล
5)โทรศัพท์ : หมายเลขโทรศัพท์ของผู้นำส่งความรู้ หรือหน่วยงานเจ้าของเรื่อง และ
6) e-Mail : อีเมลของผู้นำส่งความรู้ หรือหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
    สรุปได้ว่า     เมื่อทราบความหมายของ Best Practices และวิธีการนำเสนอ Best Practices แล้ว เราจะสามารถจะใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้ดีมากยิ่งขึ้นได้ โดยย้อนกลับไปทบทวนดูว่างานชิ้นใดประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายที่กำหนดบ้าง ใช้วิธีการปฏิบัติอย่างไร วิธีการปฏิบัติดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติที่ครบวงจรของระบบคุณภาพ PDCA หรือไม่ ซึ่งวงจรคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย หากพบว่าไม่สามารถอธิบายวิธีการปฏิบัติให้ครบวงจรคุณภาพ PDCA ได้ในขั้นตอนใด เราก็จะพบจุดพัฒนางานนั้น ๆ ให้ดีมากยิ่งขึ้นได้ เนื่องจาก Best Practices บางเรื่องอาจจะเป็นการประสบความสำเร็จในประเด็นเล็ก ๆ ดังนั้นถ้าทุกคนนำความสำเร็จในประเด็นเล็ก ๆ มาเป็นส่วนประกอบของวิธีการปฏิบัติตามวงจรคุณภาพ PDCA ได้ ย่อมทำให้งานนั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผลงานที่เป็นแบบอย่าง ที่ผู้อื่นสามารถนำไป เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ อันอาจเป็นบันไดไปสู่การได้รับรางวัลต่าง ๆ ต่อไป